สถิติ
เปิดเมื่อ24/05/2012
อัพเดท8/10/2015
ผู้เข้าชม270066
แสดงหน้า317782
สินค้า
ปฎิทิน
May 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
    
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31




วิธีการหัดดูพระสมเด็จฯ

อ่าน 6247 | ตอบ 0
วิธีการหัดดูพระสมเด็จฯ (ตอนที่ 1)
 
พระสมเด็จที่เราจะหัดดูกันนี้หมายถึงพระสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ที่แท้ ๆ ส่วนพระพิมพ์สมเด็จอื่น ๆ
ไม่เกี่ยวปัจจุบันพระสมเด็จกับพระพิมพ์สมเด็จและพระสมเด็จปลอมถอดพิพ์ เลียนแบบ เก๊เก่ามีปะปนกัน
อยู่ในตลาดพระมากมายประมาณกันว่าพระหมื่นองค์จะมีพระแท้ไม่เกินหนึ่งองค์ ในการพิจารณาซื้อหา
เช่าพระในตลาดจึงเป็นเรื่องยากที่จะมีโอกาสได้พระสมเด็จแท้ แต่ก็ไม่เสมอไปคนที่อยู่ในศีลประพฤติธรรม
มีใจบริสุทธิ์และสวดบทชินบัญชรอยู่ประจำและศัทธาเคารพ
ท่านและอยากได้พระสมเด็จของท่านจะได้ท่านจะให้พระแท้แต่อย่าเรื่องมากก็แล้วกัน มีคนได้มาแล้วเยอะได้อย่าง
ปาฏิหาริย์แบบไม่น่าเชื่อ
 
พระของท่านไม่ว่ายุคไหนสมัยไหน จะมีส่วนที่เหมือนกันอยู่และต่างไปจากของปลอม คือ เนื้อหามวลสารผงวิเศษ
พระสมเด็จของท่านยุคหนึ่งสมัยหนึ่งจะต่างกันไปทั้งรูปร่างพิมพ์ทรง เนื้อหา อายุหรือเนื้อเก่าของพระ แต่สิ่งหนึ่งในพระที่
แต่สิ่งหนึ่งในพระที่เหมือนกันคือ ผงกฤติยาคม หรือผงวิเศษ หรือผงสมเด็จ ไม่ว่ารุ่นไหนหรือยุคไหน
จะเหมือนกันหมด เพราะท่านทำอย่างเดียวกันเหมือนกันหมดทุกครั้ง
 
ในการพิจารณาดูพระสมเด็จจึงจำเป็นจะต้องดูในส่วนสำคัญก่อนหลังดังต่อไปนี้
 
อันดับที่ 1 ให้พิจารณาดูกฤติยาคมหรือผงวิเศษหรือผงสมเด็จก่อน ที่เรียกชื่อได้ทั้ง 3 อย่างนี้ คือ อันเดียวกันเรียกได้ 3 ชื่อ
ผงสมเด็จนี้พระสมเด็จทุกองค์จะต้องมีผงสมเด็จ จึงจะถือว่าเป็นพระสมเด็จแท้ ถ้าไม่มีจะถือว่าไม่แท้ไม่ใช่พระสมเด็จ
 
ผงผสมจะเป็นผงเม็ดเล็กๆ มองด้วยตาเปล่าแทบไม่เห็น ต้องใช้กล้องขยายประมาณ 10 เท่า
ส่องดูจึงจะเห็นเป็นเม็ดผงลักษณะสัณนฐานกลมๆ รีแข็ง
 
สีขาวอมเหลืองนิดๆ คล้ายๆ สีของฟันคน ซ่อนติดอยู่ตามเนื้อพระ ด้านหน้า หรือด้านหลัง หรือด้านข้าง
หรือด้านบน และด้านด้านล่าง พระบางองค์ก็มีมาก บางองค์ก็มีน้อย บางองค์มีเพียงเม็ดสองเม็ด
เม็ดผงพระสมเด็จจะมีลักษณะสันฐานกลมอย่างเดียว สัณฐานอื่นๆ เช่นแบบเหลี่ยมจะไม่ไส่เด็ดขาด
 
สรุป ผงพระสมเด็จจะกลมเม็ดเล็กมาก สีคล้ายฟันหรือกระดูกคน
 
     
 
อันดับที่ 2 ให้พิจารณาดูเนื้อพระสมเด็จเก่าที่แตกหักแล้ว ท่านเอามาบด
ตำทำเป็นผงมวลสารใส่ผสมไปในเนื้อพระสมเด็จรุ่นต่อ ๆ มา
 
ผงเนื้อพระสมเด็จเก่าแตกหักที่นำมาบดตำทำเป็นผงมวลสารพระจะมีรูปพรรณสัณฐานเป็นเม็ดเหลี่ยม มี 2 ขนาด
คือ ขนาด เล็กมองด้วยตาเปล่าแทบจะไม่เห็น ต้องใช้กล้องขยายส่องจึงจะเห็นเป็นเม็ดขาวอมเหลืองคล้าย ๆ
ฟันเหมือนเนื้อพระสมเด็จแท้ทั่ว ๆ ไป คล้าย ๆ กับผงสมเด็จหรือผงกฤติยาคม ต่างกันตรงเป็นเม็ดเหลี่ยมไม่
กลมซ่อนอยู่ตามเนื้อพระด้านหน้า-หลัง-ข้าง โปรดอย่าเข้าใจผิดว่าเป็นผงสมเด็จ เป็นผงพระเก่าอย่างเล็ก
     
อันดับที่ 3 ให้พิจารณาดูเนื้อพระซุ้มกอที่แตกหัก แล้วท่านนำเอามาบดตำทำเป็นผงมวลสารใส่ผสมลงไปในเนื้อพระสมเด็จ พระซุ้มกอ
เป็นพระเนื้อดินเผาโบราณ สมเด็จโตไปขุดได้ตามลายแทงที่กรุทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร เป็นพระ 1 ใน 5 ชุด เบญจภาคี คือ
1.พระสมเด็จ 2. พระรอด 3. พระซุ้มกอ 4.พระผงสุพรรณ 5.พระนางพญา
 
พระเบญจภาคี 5 องค์ คือเป็นพระชุดใหญ่
เนื้อพระซุ้มกอ ที่นำมาบดใส่ผสมลงไปในเนื้อพระสมเด็จจะเป็นเหมือชิ้นก้อนอิฐเก่าๆ แกร่งๆ สีน้ำตาลสัณฐานก้อนเหลี่ยม แนบชิ้น
พระสมเด็จเก่ามีสีน้ำตาลปะปนอยู่ตามเนื้อพระด้านหน้า หรือด้านหลัง หรือด้านข้างพระสมเด็จ
 
อันดับที่ 4 ให้พิจารณาดูผงแร่ธาตุ-อัญมณีที่ท่านถือว่าเป็นของมงคลเอามาบดใส่ไว้ เช่น เพชร พลอย สะเก็ดดาวตก เศษทอง-เงิน-นาค
จากผงตะไบพระบูชา หรือเวลาหล่อแต่งพระประธานในโบส์ เศษอัญมณีในพระสมเด็จนี้ มักจะพบเห็นในพระยุคต้นๆ และยุคกลาง
ส่วนยุคปลายไม่มีคงเพราะไม่นิยมใส่ เศษพวกอัญมณี มรกต บุษราคัม โกเมน ไพทูรย์ เป็นต้น
 
อันดับ 5 ในพระโบราณยุคต้นและยุคกลาง จะนิยมฝังพระโบราณ ฝังคดปลวง คดไม้ ฝังอัญมณีประดับพระ ฝังของมงคล เช่น ตะเพียนเงิน
ตะเพียนทอง ฝังก้างปลา ฝังเจ้าแม่กวนอิม ฝังพระกริ่ง ไว้ด้านหลัง ส่วนด้านฟน้าจะเป็นรูปพระสมเด็จ-รูปสมเด็จโตนั่งสมาธิ อย่างนี้ก็มี
 
อันดับที่ 6 ให้พิจารณาดูเนื้อพระ จะต้องเป็นเนื้อพระแท้ตั้งแต่โบราณเนื้อพระในยุคต้นจะมีเนื้อมากประมาณ 12 ชนิด คือ
1.เนื้อดินสอพอง
2.เนื้อดินเผากังไส
3.เนื้อผงเกษร
4.เนื้อว่าน
5.เนื้อกล้วย – ขนุน
6.เนื้อกระยาหาร
7.เนื้อเทียนชัย
8.เนื้อสีน้ำมัน
9.เนื้อตะกั่ว
10.เนื้อนวโลหะ
11.เนื้อหินดิบ
12.เนื้อหินสุก
 
ใน 12 เนื้อนี้ พอมายุคปลาย มานิยมกันแค่ 2 เนื้อ คือ เหลือแค่เนื้อหินดิบ และเนื้อหินสุก เนื้อหินดิบเกิดจากการนำเอาหินเปลือกหอย
มาบดป่นจนเป็นผงละเอียด แล้วนำมาเป็นผงพื้นพระเป็นส่วนมาก จะใช้ทำพระวัดระฆัง จึงมีสีค่อนไปทางน้ำตาล หรือเหลืองอมน้ำตาล
 
เนื้อหินสุกเกิดจากการนำเอาหินเปลือกหอยมาเผาให้สุกเป็นปูนขาว แล้วนำมาเป็นผงพื้นพระเป็นส่วนมาก จะเป็นพระวัดบางขุนพรหม
จึงมีสีค่อนข้างขาว หรือขาวอมเหลือง
 
เนื้อพระหินสุก หินดิบ กลายเป็นพระเนื้อนิยมในยุคปลายมาจนถึงปัจจุบัน
 
รายละเอียดเพิ่มเติมท่านสามารถหาอ่านได้ในหนังสือ ทีเด็ดพระสมเด็จ 2 โดย อาจารย์พน นิลผึ้ง ค.บ.



เซียนเธ้า ท่าพระจันทร์ เผย เคล็ดลับดูพระสมเด็จวัดระฆัง-แท้หรือเทียม (ตอนที่ 2)


ในยุคที่เต็มไปด้วยของก๊อบปี้เกลื่อนตลาด ไม่เว้นแม้ตลาดพระเครื่อง ที่มี 'พระเทียม' วางกันเต็มแผง แยกแทบไม่ออกว่าอะไรเก๊ แท้ เพราะนักดูพระประจำแผงก็ยังเป็น 'เซียนเก๊' จึงเป็นเรื่องยากมากที่จะพิสูจน์ว่าอะไรเป็นของแท้

ไม่ใช่ทุกคนที่ จะชี้ชัดได้ว่า พระเครื่ององค์ใดเป็นของแท้หรือเทียม นอกจากผู้ที่ศึกษาค้นคว้าแบบลึกซึ้ง ตั้งแต่ตำนาน การสร้าง พิธีการ ลักษณะแม่พิมพ์ เนื้อมวลสาร ปีที่สร้าง ในเมืองไทยมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ศึกษาแบบจริงจัง จนเรียกได้ว่าเป็น 'เซียนพระ'

สำหรับเซียนมือหนึ่งพระสมเด็จวัดระฆัง ต้องยกให้ 'วิโรจน์ ใบประเสริฐ' หรือที่รู้จักกันดีในวงการพระเครื่องว่า 'เซียนเธ้า ท่าพระจันทร์' วัย 79 ปี ผู้ที่ยังคงจดจำตำหนิทุกตำแหน่งของพระสมเด็จวัดระฆัง ยอดปรารถนาของบรรดานักสะสมนิยมพระเครื่องวัตถุมงคล เป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคีที่มีราคาหลักล้านถึงหลายสิบล้าน

ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน หรือมติชนอคาเดมี จึงได้เปิดอบรมหลักสูตรการบรรยายความรู้เรื่อง 'ทักษะพื้นฐานความรู้เรื่องพระสมเด็จวัดระฆัง' โดยเชิญเซียนเธ้า ท่าพระจันทร์ มาเป็นวิทยากรผู้อบรมถ่ายทอดเคล็ดลับวิชาดูพระสมเด็จวัดระฆังที่ไม่เคยเผย ที่ไหนมาก่อน และมี 'วัธนชัย มุตตามระ' หรือ 'แทน ท่าพระจันทร์' มาช่วยเสริมอีกแรง คอร์สนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมอบรมเต็มทุกที่นั่ง ทั้งเซียนพระมืออาชีพและมือสมัครเล่นมาอัพเดตข้อมูลความรู้ใหม่ รวมทั้งนักสะสมพระเครื่อง ทั้งรุ่นเล็กและรุ่นใหญ่ และบุคคลที่มีชื่อเสียง อาทิ พ.ต.ต.ยงยุทธ สาระสมบัติ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น

เซียนเธ้า ท่าพระจันทร์ ได้เผยเคล็ดลับการดูพระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ฐานแซม และพิมพ์เกศบัวตูม ด้วยการศึกษาแม่พิมพ์ เนื่องจากแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆัง องค์แท้มีรูปแบบที่ตายตัวเลียนแบบได้ยาก

จากคำแนะนำการดูฉบับ ละเอียดยิบจากปากของเซียนเธ้า ถอดความออกมาคร่าว ๆ ได้ว่า หลักสำคัญในการดูว่าแท้ หรือเทียม คือตำหนิที่ไม่อาจลอกเลียนแบบ หรือเปลี่ยนแปลงได้ ก็คือแม่พิมพ์

จุดแรก พระพักตร์พระสมเด็จวัดระฆังของจริงจะต้องหันพระพักตร์ไปทางซ้ายหัวเข่าขวา พระจะจม ส่วนหัวเข่าทางซ้ายจะนูนกว่า จุดนี้เองเป็นสิ่งที่เลียนแบบไม่ได้ เพราะนี่คือสุดยอดศิลปะแม่พิมพ์ ผู้แกะพิมพ์คำนึงถึงสัดส่วนมิติความเป็นจริงจากพระพุทธรูป

จุดที่ 2 นำกระดาษมาทาบจากปลายเกศถึงฐานล่างด้านซ้ายพระ จะสัมผัสกันเป็นเส้นตรงตั้งแต่ปลายเกศมาชนหัวเข่าและยาวมาถึงฐาน ต่างกับด้านขวาพระ หากทาบลงในลักษณะเดียวกันจะไม่เป็นเส้นตรง เนื้อกระดาษจะเกยพื้นที่หัวเข่าด้านซ้าย หากทาบจากปลายเกศมาถึงปลายเข่าก็จะเลยฐานออกไป จุดสังเกตนี้เซียนเธ้าบอกว่า 'ไม่เคยเฉลยที่ไหนมาก่อน กว่าจะค้นพบจุดนี้ได้ ต้องใช้เวลาถึง 20 ปี'

จุดที่ 3 รูปพระพักตร์คล้ายผลมะตูมป้อม มีใบหูทั้งสองข้าง แต่อาจจะกดพิมพ์ติดบ้าง ไม่ติดบ้าง ขึ้นอยู่กับการแกะแม่พิมพ์

จุด ที่ 4 เส้นซุ้มครอบระฆัง โดยธรรมชาติของระฆัง 2 ข้างจะเท่ากัน แต่สมเด็จวัดระฆังจะมีจุดที่แตกต่าง คือเส้นโค้งของครอบแก้วด้านซ้ายจากหัวไหล่ถึงหูจะเป็นเส้นตรง ไม่ใช่เส้นโค้ง

จุดที่ 5 เส้นเว้าโค้งของขอบด้านในครอบแก้วด้านบนขวาองค์พระ เนื้อปูนจะยุบลงไปตามธรรมชาติของซุ้มครอบด้านใน เป็นการหดตัวตามธรรมชาติ หลักการนี้สามารถใช้ดูพระเก่าได้ทั้งหมด ถ้าใช้กล้องส่องดูเส้นขอบจะยุบเว้าลงไปเหมือนพรมกำมะหยี่นุ่ม ๆ มีหลายคนพยายามจะเลียนแบบการยุบตัวของเนื้อปูน โดยการใช้มีดไปเซาะให้เกิดหลุมเว้า แต่ก็ไม่เนียน เพราะสันขอบจะคม ไม่นุ่มเนียนเหมือนของเก่า

จุดที่ 6 องค์พระแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังทั้ง 4 แบบ ขนาดหน้าอกทั้งสองข้างจะไม่เท่ากัน สังเกตจากรักแร้ขวาพระถึงหัวไหล่ขวาพระจะมีเนื้อหนากว่าด้านหน้าอกซ้ายพระ

จุดที่ 7 ผ้าอาสนะรองนั่งเป็นเส้นพลิ้วคมบาง ฐานแรกยาวออกด้านขวามือมากกว่า และฐานสิงห์หมายถึงฐานชั้นกลางจะเชิดขึ้นในด้านขวาดูรับกับฐานแรกที่เชิด ขึ้นคล้ายหัวเรือ และฐานชั้นล่างก็จะใหญ่ทึบตัน ดูข้างซ้ายจะใหญ่กว่า มีลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมู มีปลายงุ้มจิก ส่วนฐานล่างทางขวาพระจะเป็นสี่เหลี่ยมปลายแหลม มีเส้นแหลมที่มุมฐานล่างเป็นทิวไปชนซุ้มครอบแก้ว

ส่วนประเด็นที่มี การถกเถียงกันว่า พระแท้ลงรักปิดทองหรือไม่นั้น เซียนเธ้าบอกว่า พระสมเด็จวัดระฆังที่ลงรักปิดทองจะสวยมาก คาดว่าน่าจะเป็นเทคนิคในการพิมพ์ 10 องค์ ลงรัก 1 องค์ เพื่อจะได้ง่ายต่อการนับจำนวน

ปิดท้ายด้วยเกร็ดความรู้การสร้างพระสมเด็จวัดระฆัง เรื่องมวลสารและการใช้ตอก (ไม้ไผ่) ตัด ตามความเชื่อที่ว่าตอกย้ำถึงความมั่นคง เป็นคำอวยพรให้ผู้ที่ได้รับ เนื้อผสมของมวลสารบางส่วนนำมาจากเศษไม้ไก่กุก ที่เกิดจากไก่ตัวผู้จะจิกไม้กระดานก่อนจะขึ้นคร่อมไก่ตัวเมีย เชื่อกันว่าเป็นไม้มหาเสน่ห์ หรือเมตตามหานิยมนั่นเอง

เซียนเธ้าไม่เพียงแค่แนะนำวิธีดูพระเท่านั้น แต่ย้อนไปตั้งแต่กระบวนการสร้างแม่พิมพ์ กดพิมพ์ กระทั่งฤกษ์ปลุกเสก ละเมียดละไมในทุกขั้นตอน ด้วยเหตุนี้ พระสมเด็จวัดระฆัง จึงเป็นพระเครื่องยอดปรารถนาที่ทุกคนใฝ่ฝันจะได้ครอบครอง

คำเตือน ใครที่ยังไม่มีของจริงมาส่อง ก็ไม่ควรไปจ้องของปลอม เพราะถ้าเพ่งมองดูเป็นเวลานาน จะทำให้ติดตา เกิดการจดจำเลอะเทอะ อาจทำให้เข้าใจผิดว่า พระปลอม เป็นพระแท้ได้
 
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

 
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :