สถิติ
เปิดเมื่อ24/05/2012
อัพเดท8/10/2015
ผู้เข้าชม270084
แสดงหน้า317800
สินค้า
ปฎิทิน
May 2025
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
    
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31




วิธีนั่งสมาธิและเดินจงกรม

อ่าน 871 | ตอบ 1
วิธีนั่งสมาธิและเดินจงกรม
โดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

วัดป่าบ้านตาด
ต.บ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี



๏ การนั่งสมาธิ

๑. นั่งขัดสมาธิตามแบบพระพุทธรูป เอาขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย วางมือทั้งสองไว้บนตัก

๒. ตั้งกายตรง อย่าก้มนักเงยนัก อย่าให้เอียงซ้ายเอียงขวาจนผิดธรรมดา ไม่กดหรือเกร็งอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง อันเป็นการบังคับกายให้ลำบาก ปล่อยวางอวัยวะทุกส่วนไว้ตามปกติ

๓. ระลึก พุทโธ ธัมโม สังโฆ ๓ ครั้ง อันเป็นองค์พระรัตนตรัยก่อน

๔. นึกคำบริกรรม โดยกำหนดเอาเพียงบทเดียวติดต่อกันไปด้วยความมีสติ เช่น พุทโธ พุทโธ พุทโธ...เป็นต้น ให้นึก พุทโธ พุทโธ พุทโธ...สืบเนื่องกันไปด้วยความมีสติ และพยายามทำความรู้สึกตัวอยู่กับ พุทโธ พุทโธ พุทโธ...

อย่าให้จิตเผลอตัวไปสู่อารมณ์อื่นระหว่างจิต สติกับคำบริกรรมมีความกลมกลืนกันได้เพียงไร ยิ่งเป็นความมุ่งหมายของการภาวนาเพียงนั้น ผลคือความสงบเย็นใจจะพึงเกิดขึ้น


๏ การเดินจงกรม

๑. พึงกำหนดทางจงกรมที่ตนจะพึงเดินสั้นหรือยาวเพียงไร ความยาว ๒๕-๓๐ ก้าวเป็นความเหมาะสมทั่วไป พึงดูว่าเราจะเดินจากที่นี่ไปถึงที่นั่นหรือถึงที่โน้น สำหรับทิศทางที่ท่านนิยมปฏิบัติมา มี ๓ ทิศ คือ

ตรงตามแนวตะวันออก ตะวันตก ๑
ตามแนวตะวันออกเฉียงใต้ ๑
ตามแนวตะวันออกเฉียงเหนือ ๑

จากนั้นตบแต่งทางจงกรมให้เรียบร้อยก่อนเดิน

๒. ผู้จะเดินกรุณาไปยืนที่ต้นทางจงกรม และพึงยกมือทั้งสองขึ้นประนมไว้เหนือระหว่างคิ้ว ระลึกคุณพระรัตนตรัย และระลึกถึงคุณบิดามารดา อุปัชฌาย์อาจารย์ ตลอดท่านผู้เคยมีพระคุณแก่ตน จบแล้วรำพึงถึงความมุ่งหมายแห่งความเพียรที่กำลังจะทำด้วยความตั้งใจเพื่อผลนั้นๆ เสร็จแล้วปล่อยมือลง

เอามือขวาทับมือซ้ายทาบกันไว้ใต้สะดือตามแบบพุทธรำพึง เจริญพรหมวิหาร ๔ จบแล้วทอดตาลงเบื้องต่ำ ท่าสำรวม

๓. ตั้งสติกำหนดจิตและธรรมที่เคยนำมาบริกรรมกำกับใจ พุทโธ พุทโธ พุทโธ...เป็นต้น แล้วออกเดินจงกรมจากต้นทางถึงปลายทางจงกรมที่กำหนดไว้ เดินกลับไปกลับมาในท่าสำรวม มีสติอยู่กับบทธรรมหรือสิ่งที่พิจารณาโดยสม่ำเสมอ ไม่ส่งจิตไปอื่นจากงานที่กำลังทำอยู่ในเวลานั้น

๔. ขณะเดินจงกรม พึงกำหนดสติกับคำบริกรรม พุทโธ พุทโธ พุทโธ...ให้กลมกลืนเป็นอันเดียวกัน ประคองความเพียรด้วยสติสัมปชัญญะ มีใจแน่วแน่ต่อธรรมที่บริกรรม ให้จิตรู้อยู่กับ พุทโธ พุทโธ พุทโธ...ทุกระยะที่ก้าวเดินไปและถอยกลับมา


๏ ข้อพึงสำรวม

= การเดินไม่พึงเดินไกวแขน
= ไม่เอามือขัดหลังหรือกอดอก
= ไม่เดินมองโน้นมองนี่ อันเป็นท่าไม่สำรวม

.............................................................

คัดลอกมาจาก
หนังสือ “ปฏิปทาของพระธุดงคกรรมฐาน สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร”
โดย ท่านพระอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน
ความคิดเห็น :
1
อ้างอิง

Sue
 
Sue [68.202.141.xxx] เมื่อ 29/02/2020 18:46
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :